
คำพังเพย?
คำพังเพย คือ ถ้อยอุปมาที่กล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราวหรือความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนเป็นสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้ และจดจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชม หรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ไม่ถึงกับเป็นคำสอน

รวม 50 คำพังเพยที่ใช้บ่อย ๆ
-
อกเขาอกเรา
หมายถึงการที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา ถ้าเราเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร
-
ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
หมายถึงคนเราทำอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น
-
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
หมายถึงการให้อภัย คือการยุติความบาดหมางทั้งปวง ไม่จองเวรจองกรรมกัน เวรกรรมก็จะไม่เกิดขึ้นใหม่
-
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึงประพฤติตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ, ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ คน และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่
-
สีซอให้ควายฟัง
หมายถึงแนะนำ หรือสั่งสอนคนปัญญาทึบ มักไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า
-
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
หมายถึงประพฤติอย่างไร ธรรมะจึงจะตามรักษาผู้นั้นได้
-
ใจเขาใจเรา
หมายถึงการที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา ถ้าเราเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร
-
เป่าปี่ให้ควายฟัง
หมายถึงการพูดจาแนะนำสั่งสอนให้คนโง่เง่าฟังเพื่อหวังให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเขาเองแต่กลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยเพราะคนโง่ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนกับคนเป่าปี่ให้ควายฟังควายฟังไม่รู้เรื่อง
-
นกน้อยทำรังแต่พอตัว
หมายถึงเป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตนเช่นมีเงินไม่มากนักก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว
-
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
หมายถึงไม่ช่วยทำงานแล้วเกะกะขัดขวางทำให้งานเดินไปไม่สะดวกเหมือนกับคนที่นั่งไปในเรือไม่ช่วยทำงานแต่ยังไปเอาเท้าไปราน้ำให้เรือแล่นช้า
-
วัวหายล้อมคอก
หมายถึงเกิดเรื่องเสียหายขึ้นแล้วจึงคิดหาหนทางป้องกันเหมือนมีสมบัติไม่เก็บรักษาให้ดีพอสมบัติหายไปแล้วจึงหาทางสร้างที่เก็บสมบัติ
-
อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนเมา
หมายถึงอย่าหาความจากคนที่ไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะไร้ซึ่งประโยชน์ในการเจรจา
-
วันพระไม่ได้มีหนเดียว
หมายถึงวันหน้ายังมีโอกาสอีก
หมายเหตุมักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต
-
สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล
หมายถึงการแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน
-
ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า
หมายถึงบังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
-
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่อดอยากปากแห้ง โดยเทียบได้กับในแหล่งน้ำทุกที่มีปลาให้จับเป็นอาหารและในนาก็มีข้าวอุดมสมบูรณ์
ที่มาขยายความ : สุภาษิตสำนวนไทยคำว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว นิยมใช้กับพื้นที่หรือดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลามากมาย ในนาก็มีข้าวอย่างเหลือเฟือ ตัวอย่างเช่นประเทศไทยของเรา ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างของคำว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าวได้เป็นอย่างดี
-
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
หมายถึงการพูดจาสำคัญกว่าวิชาหนังสือ
-
ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
หมายถึงสิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูไม่สวยงามหรือดูไม่ดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นมีความสวยงามหรือความดีซ่อนอยู่ภายใน
หมายเหตุเป็นสำนวนที่ตรงกันข้ามกับ ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
-
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
หมายถึงคนที่ทำความผิดอย่างร้ายแรงย่อมไม่สามารถปกปิดความผิดของตนได้หรือพยายามหาหลักฐานมากลบเกลื่อนแต่ไม่สามารถปกปิดความผิดนั้นได้
หมายเหตุช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด ก็ว่า
-
รักสนุกทุกข์ถนัด
หมายถึงสนุกมาก ก็มักจะทุกข์มาก
-
เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
หมายถึงคนมีอำนาจ บารมี อิทธิพลพอ ๆ กัน ย่อมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เขาทั้งสองเป็นคนเก่งและมีความสามารถเท่า ๆ กันมักเกิดปัญหาเพราะความไม่ยอมกันเหมือนเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
-
คนล้มอย่าข้าม
หมายถึงคนที่เคยมีอำนาจวาสนา แล้วหมดอำนาจ อย่าไปซ้ำเติมเขา เพราะเขาอาจกลับมามีอำนาจอีกได้
-
ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด
หมายถึงฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ
-
เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม
หมายถึงเอาลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้
-
ทำนาบนหลังคน
หมายถึงหาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
-
คางคกขึ้นวอ
หมายถึงคนที่มีฐานะต่ำต้อยพอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว
-
กระต่ายตื่นตูม
หมายถึงใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
-
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด
หมายถึงทำทีว่าเป็นคนซื่อ แต่พอเผลอก็ออกลวดลายทันที เช่นเดียวกับแมวที่นอนบิดขี้เกียจ ไม่ลืมหูลืมตาอยู่ใกล้ ๆ หวดนึ่งข้าวข้าง ๆ เตาไฟที่มีปลาย่างวางอยู่พอคนเผลอมันก็ลุกขึ้นคาบ เอาปลาไปทันที
หมายเหตุแมวนอนหวด ก็ว่า
-
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
หมายถึงคนที่มีอำนาจราชศักดิ์หรือเป็นใหญ่เป็นโตก็ย่อมข่มคนที่เป็นผู้น้อยหรือผู้น้อยเหมือนกับคนที่มีกำลังมากย่อมมีภาษีเหนือกว่าคนอ่อนแอ
-
วัวลืมตีน
หมายถึงคนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน
-
มือไวใจเร็ว
หมายถึงด่วนตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ
-
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
หมายถึงความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง
-
ขวานผ่าซาก
หมายถึงโผงผางไม่เกรงใจใคร(ใช้แค่กริยาพูด)
-
ผู้ดีเดินตรอกขี้ครอกเดินถนน
หมายถึงคนดีคอยปิดบังไม่แสดงตัวแต่คนชั่วกลับแสดงออกอย่างเปิดเผย
-
รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา
หมายถึงใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก
-
เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก
หมายถึงเพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่าย แต่เพื่อนที่คอยช่วยเหลือยามลำบากนั้นหายาก
-
เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
หมายถึงประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย
-
ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
หมายถึงสิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูสวยงามดูดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นแย่
ที่มาเปรียบเทียบกับผลไม้ ที่ภายนอกผลสวยงาม แต่ภายในนั้นเป็นโพรงเนื่องจากมีแมลงกินหมดแล้ว
หมายเหตุเป็นสำนวนที่ตรงกันข้ามกับ ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
-
ตาดีได้ตาร้ายเสีย
หมายถึงถ้าโชคดี ตานั้นก็ได้ ถ้าโชคร้าย ตานั้นก็เสีย
ที่มาตาในที่นี้หมายถึงรอบการเล่น มักใช้ในการพนันขันต่อหรือเกมกีฬา
-
จับปลาสองมือ
หมายถึงหมายจะเอาให้ได้ทั้ง2อย่าง,เสี่ยงทำการพร้อมๆกันซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง2อย่าง
-
ไปลามาไหว้
หมายถึงมารยาทไทย ที่เป็นวัฒนธรรมในการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน
-
รวมกันเราอยู่แยกหมู่เราตาย
หมายถึงร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้
หมายเหตุรวมกันเราอยู่แยกกันเราตาย ก็ว่า
-
ดินพอกหางหมู
หมายถึงการปล่อยงานคั่งค้างอยู่เรื่อยๆเพราะมัวแต่ผัดวันประกันพุ่งในไม่ช้างานที่คั่งค้างนั้นจะพอกพูนมากขึ้นทุกทีจนเป็นภาระที่หน้าเบื่อหน่ายภายหลัง
-
ยกตนข่มท่าน
หมายถึงยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น,พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า
-
อมพระมาพูด
หมายถึงใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยานมักใช้ในความปฏิเสธเช่นต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ
-
กระต่ายหมายจันทร์
หมายถึงผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
-
ปิดทองหลังพระ
หมายถึงทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
-
วัดรอยเท้า
หมายถึงมุ่งจะโต้ตอบมุ่งแก้แค้นมุ่งอาฆาตเป็นสำนวนที่ใช้กับลูกที่คิดจะสู้ลูกหรือใช้กับผู้น้อยคิดจะหักล้างผู้ใหญ่ที่เคยบังคับบัญชาตนมาก็ได้
-
หมากัดไม่เห่า
หมายถึงคนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า
-
เขียนเสือให้วัวกลัว
หมายถึงทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
ดูผ่าน ๆ คำพังเพย นี้ก็เหมือนกับสำนวนสุภาษิตไทย ลองดู ลองนำไปใช้งานเรื่อย ๆ สักพักเราก็จะแยกออกได้เอง