ประเภทสำนวน
"บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น" จัดว่าเป็น สุภาษิต เพราะว่า เป็นคำสอนโดยตรงที่มีความหมายชัดเจน ให้ข้อคิดในการวางตัวและรักษาความสัมพันธ์อย่างประนีประนอม อีกทั้งมีโครงสร้างประโยคที่สมบูรณ์ในตัวเอง
ที่มาและแนวคิดเบื้องหลัง
สุภาษิตนี้เปรียบเทียบดอกบัวที่อยู่ในน้ำ เวลาเราจะเก็บดอกบัวควรระมัดระวังไม่ให้ดอกบัวช้ำและไม่ทำให้น้ำขุ่น หมายถึงการรู้จักวางตัวให้ถูกต้องเหมาะสม ทำสิ่งใดให้รู้จักประนีประนอม ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียหาย หรือในการแก้ปัญหาใดๆ ควรใช้วิธีการที่ละมุนละม่อม ไม่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเดือดร้อน
ตัวอย่างการใช้สำนวน "บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น" ในประโยค
- ผู้ใหญ่ท่านนี้ได้ชื่อว่าเป็นคนเก่ง สามารถจัดการความขัดแย้งโดยบัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น ทุกฝ่ายพอใจในการตัดสิน
- การเจรจาที่ดีต้องยึดหลักบัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น คือทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ ไม่มีใครเสียหน้า
สรุปและทบทวนเรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
สุภาษิต และคำพังเพย จัดเป็น "สำนวน" ด้วยกันทั้งคู่ เพราะมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบ และเป็นถ้อยคำที่ใช้สืบเนื่องกันมานาน
สุภาษิต เป็นถ้อยคำที่มักใช้คำสั้น ๆ กะทัดรัดแต่มีความหมายลึกซึ้ง มีสัมผัสคล้องจอง ส่วนใหญ่สุภาษิตที่ใช้ในสังคมไทยมักมีที่มาจากคำสอนทางพุทธศาสนา
คำพังเพย เป็นถ้อยคำที่ให้ข้อคิด โดยกล่าวถึงพฤติกรรมหรือธรรมชาติรอบตัว ส่วนมากมักเป็นถ้อยคำที่เป็นข้อสรุปการกระทำหรือพฤติกรรมทั่วไป อาจมีที่มาจากนิทาน ตำนาน วรรณคดี