คำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต

คำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต ตามที่เคยรู้จัก คำพังเพย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำพังเพย คือ ถ้อยอุปมาที่กล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราวหรือความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนเป็นสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้ และจดจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชม หรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ไม่ถึงกับเป็นคำสอน

รวมคำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต

คำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต ตามที่เคยรู้จัก คำพังเพย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. กงเกวียนกำเกวียน
    หมายถึง เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน
  2. กันดีกว่าแก้
    หมายถึง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ
  3. กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง
    หมายถึง รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้
  4. ก่อแล้วต้องสาน
    หมายถึง เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ
  5. คงเส้นคงวา
    หมายถึง เสมอต้นเสมอปลาย
  6. คนล้มอย่าข้าม
    หมายถึง คนที่เคยมีอำนาจวาสนา แล้วหมดอำนาจ อย่าไปซ้ำเติมเขา เพราะเขาอาจกลับมามีอำนาจอีกได้
  7. คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
    หมายถึง การเลือกคบคนค้องพิจารณาให้ดีถ้าคบคนชั่วมาเป็นมิตร คนชั่วก็จะชักนำ พาเราไปในทางไม่ดี ถ้าคบคนดีมีความรู้ คนดีก็จะชักนำ พาเราไปในทางที่ดี
  8. คบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
    หมายถึง จะคบกับใครพิจารณาให้ดีเสียก่อน เช่นเดียวกับการเลือกซื้อผ้า
  9. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
    หมายถึง มีวิชาความรู้มาก แต่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนไม่ได้ หรือเมื่อถึงคราวมีกลับไม่มีปัญญาแก้ไขให้ตัวเองรอดพ้นได้
  10. คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก
    หมายถึง ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าลำบากใจแล้วแม้ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตก็อยู่ไม่ได้
  11. ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
    หมายถึง ชีวิตคนเราเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ มีขึ้นและมีลง ดังนั้นเมื่อถึงคราวตกอับ ก็อย่าเพิ่งท้อถอย หรือหมดอาลัยในชีวิต และเมื่อถึงคราวรุ่งเรือง มีอำนาจวาสนา ก็อย่าลืมตัว อย่าประมาท
  12. ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ
    หมายถึง ลูกผู้ชายที่ชื่อว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถ จะต้องสำแดงวิชาความรู้และความสามารถให้ลือชาปรากฏแก่คนทั่วไป
  13. ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้
    หมายถึง ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ
  14. ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
    หมายถึง ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล
  15. ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม
    หมายถึง ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล
  16. ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ
    หมายถึง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำดีกว่าด่วนทำ
  17. ดักลอบต้องหมั่นกู้ เจ้าชู้ต้องหมั่นเกี้ยว
    หมายถึง รู้จักเอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่ทำ แล้วความสำเร็จจะตามมา
  18. ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน
    หมายถึง เป็นคำกล่าวแนะนำให้สังเกตลักษณะของช้างและหญิงสาวที่เป็นไปตามธรรมชาติและสภาวะอากาศ
  19. ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
    หมายถึง ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง
  20. ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
    หมายถึง ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง
  21. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
    หมายถึง ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล
  22. ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา
    หมายถึง การจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว
  23. ตัดบัวยังเหลือใย
    หมายถึง ตัดกันยังไม่ขาด ลึกๆ ยังรู้สึกดีต่อกัน
  24. ตัดไฟต้นลม
    หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป
  25. ตัดไฟแต่ต้นลม
    หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป
  26. ตัดไฟแต่หัวลม
    หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป
  27. ตามใจปากจะลำบากท้อง
    หมายถึง เห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน กินอะไรหรือทำอะไรตามใจตัวเอง อาจทำให้ลำบากในภายหลังได้
  28. ตามใจปากมากหนี้
    หมายถึง เห็นแก่กินมักจะลำบากด้านการเงิน
  29. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
    หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์จำนวนมากไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร
  30. ตึงนักมักขาด
    หมายถึง หากไม่รู้จักผ่อนผัน ท้ายสุดก็จะเป็นแตกหักกัน
  31. ตื่นก่อนนอนทีหลัง
    หมายถึง เป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี
  32. ตื่นก่อนนอนหลัง
    หมายถึง เป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี
  33. ถลำร่องชักง่าย ถลำใจชักยาก
    หมายถึง การพลาดถลำตกลงไปในร่องพื้นยังสามารถชักเท้ากับขึ้นมาได้ แต่ถ้าถลำใจหลงรักมาก ๆ เข้าจะถอนออกได้ยาก
  34. ถ้อยที่ถ้อยอาศัย
    หมายถึง ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน
  35. ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
    หมายถึง คนเราทำอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น
  36. ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    หมายถึง ประพฤติอย่างไร ธรรมะจึงจะตามรักษาผู้นั้นได้
  37. นกน้อยทำรังแต่พอตัว
    หมายถึง เป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตนเช่นมีเงินไม่มากนักก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว
  38. นินทากาเลเหมือนเทน้ำ
    หมายถึง การติฉินนินทานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ
  39. น้ำขึ้นให้รีบตัก
    หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ
  40. น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
    หมายถึง สิ่งบางอย่างที่มีพละกำลังน้อยกว่า มักจะพ่ายแพ้สิ่งที่มีกำลังหรืออำนาจที่มากกว่า
  41. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย
    หมายถึง เมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นธรรมดา
  42. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
    หมายถึง อย่าขวางผู้ที่มีอำนาจหรือผู้ที่กำลังโกรธจัด
  43. นํ้าขึ้นให้รีบตัก
    หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ
  44. บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น
    หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
  45. บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น
    หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
  46. บ้านเมืองมีขื่อมีแป
    หมายถึง บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง
  47. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ปลูกอู่ตามใจผู้นอน
    หมายถึง การกระทำการใดให้ใครต้องถามความต้องการหรือความสมัครใจของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบโดยตรง
  48. ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย
    หมายถึง จะทำสิ่งใดควรคิดให้รอบคอบ เพราะถ้าผิดพลาดไป จะแก้ไขยาก
  49. ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
    หมายถึง การพูดจาสำคัญกว่าวิชาหนังสือ
  50. ปิดทองหลังพระ
    หมายถึง ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
  51. ผู้ดีเดินตรอกขี้ครอกเดินถนน
    หมายถึง คนดีคอยปิดบังไม่แสดงตัวแต่คนชั่วกลับแสดงออกอย่างเปิดเผย
  52. ผ่อนสั้นผ่อนยาว
    หมายถึง ประนีประนอมกัน, อะลุ่มอล่วยกัน
  53. ผ่อนหนักผ่อนเบา
    หมายถึง ประนีประนอม, อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย
  54. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
    หมายถึง เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล
  55. พูดดีเป็นเงินเป็นทอง
    หมายถึง พูดดีย่อมเกิดประโยชน์กับตน
  56. พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง
    หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
  57. ฟังหูไว้หู
    หมายถึง รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด
  58. ยากเจ็ดทีดีเจ็ดหน
    หมายถึง คนที่มีทั้งโชคดีและร้ายสลับกันไปมา
  59. รกคนดีกว่ารกหญ้า
    หมายถึง หากมีคนอยู่จำนวนมากอาจจะใช้ประโยชน์ได้บ้าง ซึ่งดีกว่ามีหญ้า(วัชพืช)ขึ้นเต็ม ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้และยังกลายเป็นภาระอีกด้วย
  60. รวมกันเราอยู่แยกกันเราตาย
    หมายถึง ร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้
  61. รวมกันเราอยู่แยกหมู่เราตาย
    หมายถึง ร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้
  62. รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา
    หมายถึง ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก
  63. รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
    หมายถึง เวลาลูกทำผิดก็ควรอบรมสั่งสอนลูก และมีการลงโทษบางตามสมควร ซึ่งทั้งหมดที่ทำไปก็เพราะรักลูกอยากให้ลูกเป็นเด็กดี
  64. รู้มากยากนาน
    หมายถึง รู้มากเกินไปทำอะไรก็คิดแล้วคิดอีกจนทำให้ยุ่งยากใจ หรือตัดสินใจช้า
  65. รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
    หมายถึง คือการสามารถเอาตัวรอดในจังหวะ สถาการณ์ที่ลำบากหรือเข้าขั้นวิกฤติได้ หรือหลบหลีกจากอันตรายมาได้อย่างปลอดภัยไม่ได้รับผลอันใดจากสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่เป็นอะไรหรือได้รับผลกระทบมากมาย
  66. รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
    หมายถึง ความรู้จะสามารถช่วยให้เราสามารถรักษาตัวเองให้รอดได้และเป็นสิ่งมีค่าที่จะติดตัวเราไปทุกที่มากกว่าทรัพย์สินสิ่งของใดๆ
  67. รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง
    หมายถึง รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์
  68. ลืมตาอ้าปาก
    หมายถึง มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมจนพอทัดเทียมกับผู้อื่น
  69. ลูกรักอยู่หลังลูกชังอยู่หน้า
    หมายถึง รักลูกไม่เท่ากัน
  70. ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
    หมายถึง ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก
  71. วันพระไม่ได้มีหนเดียว
    หมายถึง วันหน้ายังมีโอกาสอีก
  72. ศิษย์มีครู
    หมายถึง คนเก่งที่มีครู
  73. สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล
    หมายถึง การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน
  74. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
    หมายถึง การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คน ก็ไม่เท่ากับพบเห็นด้วยตนเอง
  75. สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    หมายถึง คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้
  76. สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    หมายถึง คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้
  77. สุกเอาเผากิน
    หมายถึง อาการที่ทำอย่างเร่งรีบไม่ใส่ใจ, อาการที่ทำลวก ๆ พอให้เสร็จ
  78. สูงนักมักโค่น
    หมายถึง โดดเด่นเกินไป มักมีภัยแก่ตนเอง
  79. หนามยอกเอาหนามบ่ง
    หมายถึง ตอบโต้ หรือแก้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน
  80. หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม
    หมายถึง คนที่มีพรสวรรค์ สติปัญญาดี มีความสามารถสูง อาจจะเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่มีผู้สอนเลยก็เป็นได้ หรือหมายถึงคนที่มาจากตระกูลที่ดี ตัวบุคคลนั้นก็จะมีแนวโน้มที่ดีไปด้วย
  81. หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด
    หมายถึง อย่าเข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ กิจกรรม หรือการกระทำของผู้อืน ซึ่งเขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว
  82. หยิกเล็บเจ็บเนื้อ
    หมายถึง ทำผู้ใกล้ชิดก็ย่อมส่งผลกระทบถึงตัวผู้ทำ หรือพรรคพวกด้วย
  83. หย่อนนักมักยุ่ง
    หมายถึง หากไม่เคร่งครัด ท้ายสุดก็มักจะเกิดปัญหาตามหลัง
  84. หว่านพืชหวังผล
    หมายถึง ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน
  85. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
    หมายถึง อดใจไว้ตอนนี้เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้า
  86. อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย
    หมายถึง คนที่เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองอย่าหลงลืมตน ควรก้มมองดูลูกน้องหรือคนที่ต่ำต้อยกว่าว่าเขาเป็นอย่างไร เอาใจใส่ดูแล ฟังเสียงเขาบ้าง ส่วนคนที่เป็นลูกน้องก็สมควรทำหน้าที่ให้เรียบร้อยไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดูแบบอย่างจากเจ้านายเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
  87. อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนเมา
    หมายถึง อย่าหาความจากคนที่ไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะไร้ซึ่งประโยชน์ในการเจรจา
  88. อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนจะจนใจเอง
    หมายถึง ไม่ควรไว้ใจใครมากเกินไปเพราะเขาอาจจะทำให้เราเดือดร้อนในภายหลังได้
  89. อายครูไม่รู้วิชา อายภรรยาไม่มีบุตร
    หมายถึง อายในสิ่งที่ไม่ควรอาย อันทำให้ไม่เกิดประโยชน์
  90. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
    หมายถึง เก็บเล็กผสมน้อย, ทำอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
  91. เขียนด้วยมือลบด้วยตีน
    หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง
  92. เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า
    หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง
  93. เข้าทางตรอกออกทางประตู
    หมายถึง ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ ชายหนุ่มกับหญิงสาวที่ต่างก็ผูกสมัครรักใคร่กัน ต่างก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เข้าตามตรอก ออกตามประตู ก็ว่า
  94. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
    หมายถึง ประพฤติตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ, ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ คน และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่
  95. เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
    หมายถึง ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
  96. เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
    หมายถึง ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย
  97. เด็ดบัวเหลือใย
    หมายถึง ตัดกันยังไม่ขาด ลึกๆ ยังรู้สึกดีต่อกัน ตัดบัวยังเหลือใย ก็ว่า
  98. เด็ดบัวไม่ไว้ใย
    หมายถึง ตัดขาด,ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด,มักใช้คู่กับเด็ดดอกไม่ไว้ขั้วเด็ดบัวไม่ไว้ใย
  99. เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก
    หมายถึง เพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่าย แต่เพื่อนที่คอยช่วยเหลือยามลำบากนั้นหายาก
  100. เรียนผูกต้องเรียนแก้
    หมายถึง รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, สร้างปัญหาเองก็ต้องรู้จักแก้เอง

 แสดงความคิดเห็น