คำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต

คำพังเพย คือ ถ้อยอุปมาที่กล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราวหรือความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนเป็นสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้ และจดจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชม หรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ไม่ถึงกับเป็นคำสอน
รวมคำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต
คำพังเพย เกี่ยวกับ สุภาษิต ตามที่เคยรู้จัก คำพังเพย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- กงเกวียนกำเกวียน
หมายถึง เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน - กันดีกว่าแก้
หมายถึง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ - กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง
หมายถึง รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้ - ก่อแล้วต้องสาน
หมายถึง เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ - คงเส้นคงวา
หมายถึง เสมอต้นเสมอปลาย - คนล้มอย่าข้าม
หมายถึง คนที่เคยมีอำนาจวาสนา แล้วหมดอำนาจ อย่าไปซ้ำเติมเขา เพราะเขาอาจกลับมามีอำนาจอีกได้ - คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
หมายถึง การเลือกคบคนค้องพิจารณาให้ดีถ้าคบคนชั่วมาเป็นมิตร คนชั่วก็จะชักนำ พาเราไปในทางไม่ดี ถ้าคบคนดีมีความรู้ คนดีก็จะชักนำ พาเราไปในทางที่ดี - คบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
หมายถึง จะคบกับใครพิจารณาให้ดีเสียก่อน เช่นเดียวกับการเลือกซื้อผ้า - ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
หมายถึง มีวิชาความรู้มาก แต่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนไม่ได้ หรือเมื่อถึงคราวมีกลับไม่มีปัญญาแก้ไขให้ตัวเองรอดพ้นได้ - คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก
หมายถึง ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าลำบากใจแล้วแม้ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตก็อยู่ไม่ได้ - ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
หมายถึง ชีวิตคนเราเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ มีขึ้นและมีลง ดังนั้นเมื่อถึงคราวตกอับ ก็อย่าเพิ่งท้อถอย หรือหมดอาลัยในชีวิต และเมื่อถึงคราวรุ่งเรือง มีอำนาจวาสนา ก็อย่าลืมตัว อย่าประมาท - ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ
หมายถึง ลูกผู้ชายที่ชื่อว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถ จะต้องสำแดงวิชาความรู้และความสามารถให้ลือชาปรากฏแก่คนทั่วไป - ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้
หมายถึง ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ - ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
หมายถึง ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล - ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม
หมายถึง ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล - ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ
หมายถึง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำดีกว่าด่วนทำ - ดักลอบต้องหมั่นกู้ เจ้าชู้ต้องหมั่นเกี้ยว
หมายถึง รู้จักเอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่ทำ แล้วความสำเร็จจะตามมา - ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน
หมายถึง เป็นคำกล่าวแนะนำให้สังเกตลักษณะของช้างและหญิงสาวที่เป็นไปตามธรรมชาติและสภาวะอากาศ - ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
หมายถึง ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง - ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
หมายถึง ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง - ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
หมายถึง ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล - ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา
หมายถึง การจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว - ตัดบัวยังเหลือใย
หมายถึง ตัดกันยังไม่ขาด ลึกๆ ยังรู้สึกดีต่อกัน - ตัดไฟต้นลม
หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป - ตัดไฟแต่ต้นลม
หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป - ตัดไฟแต่หัวลม
หมายถึง ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป - ตามใจปากจะลำบากท้อง
หมายถึง เห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน กินอะไรหรือทำอะไรตามใจตัวเอง อาจทำให้ลำบากในภายหลังได้ - ตามใจปากมากหนี้
หมายถึง เห็นแก่กินมักจะลำบากด้านการเงิน - ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์จำนวนมากไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร - ตึงนักมักขาด
หมายถึง หากไม่รู้จักผ่อนผัน ท้ายสุดก็จะเป็นแตกหักกัน - ตื่นก่อนนอนทีหลัง
หมายถึง เป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี - ตื่นก่อนนอนหลัง
หมายถึง เป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี - ถลำร่องชักง่าย ถลำใจชักยาก
หมายถึง การพลาดถลำตกลงไปในร่องพื้นยังสามารถชักเท้ากับขึ้นมาได้ แต่ถ้าถลำใจหลงรักมาก ๆ เข้าจะถอนออกได้ยาก - ถ้อยที่ถ้อยอาศัย
หมายถึง ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน - ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
หมายถึง คนเราทำอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น - ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
หมายถึง ประพฤติอย่างไร ธรรมะจึงจะตามรักษาผู้นั้นได้ - นกน้อยทำรังแต่พอตัว
หมายถึง เป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตนเช่นมีเงินไม่มากนักก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว - นินทากาเลเหมือนเทน้ำ
หมายถึง การติฉินนินทานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ - น้ำขึ้นให้รีบตัก
หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ - น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
หมายถึง สิ่งบางอย่างที่มีพละกำลังน้อยกว่า มักจะพ่ายแพ้สิ่งที่มีกำลังหรืออำนาจที่มากกว่า - น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย
หมายถึง เมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นธรรมดา - น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
หมายถึง อย่าขวางผู้ที่มีอำนาจหรือผู้ที่กำลังโกรธจัด - นํ้าขึ้นให้รีบตัก
หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ - บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น
หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน - บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น
หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน - บ้านเมืองมีขื่อมีแป
หมายถึง บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง - ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ปลูกอู่ตามใจผู้นอน
หมายถึง การกระทำการใดให้ใครต้องถามความต้องการหรือความสมัครใจของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบโดยตรง - ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย
หมายถึง จะทำสิ่งใดควรคิดให้รอบคอบ เพราะถ้าผิดพลาดไป จะแก้ไขยาก - ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
หมายถึง การพูดจาสำคัญกว่าวิชาหนังสือ - ปิดทองหลังพระ
หมายถึง ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า - ผู้ดีเดินตรอกขี้ครอกเดินถนน
หมายถึง คนดีคอยปิดบังไม่แสดงตัวแต่คนชั่วกลับแสดงออกอย่างเปิดเผย - ผ่อนสั้นผ่อนยาว
หมายถึง ประนีประนอมกัน, อะลุ่มอล่วยกัน - ผ่อนหนักผ่อนเบา
หมายถึง ประนีประนอม, อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย - ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
หมายถึง เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล - พูดดีเป็นเงินเป็นทอง
หมายถึง พูดดีย่อมเกิดประโยชน์กับตน - พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง
หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า - ฟังหูไว้หู
หมายถึง รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด - ยากเจ็ดทีดีเจ็ดหน
หมายถึง คนที่มีทั้งโชคดีและร้ายสลับกันไปมา - รกคนดีกว่ารกหญ้า
หมายถึง หากมีคนอยู่จำนวนมากอาจจะใช้ประโยชน์ได้บ้าง ซึ่งดีกว่ามีหญ้า(วัชพืช)ขึ้นเต็ม ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้และยังกลายเป็นภาระอีกด้วย - รวมกันเราอยู่แยกกันเราตาย
หมายถึง ร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้ - รวมกันเราอยู่แยกหมู่เราตาย
หมายถึง ร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้ - รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา
หมายถึง ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก - รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
หมายถึง เวลาลูกทำผิดก็ควรอบรมสั่งสอนลูก และมีการลงโทษบางตามสมควร ซึ่งทั้งหมดที่ทำไปก็เพราะรักลูกอยากให้ลูกเป็นเด็กดี - รู้มากยากนาน
หมายถึง รู้มากเกินไปทำอะไรก็คิดแล้วคิดอีกจนทำให้ยุ่งยากใจ หรือตัดสินใจช้า - รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
หมายถึง คือการสามารถเอาตัวรอดในจังหวะ สถาการณ์ที่ลำบากหรือเข้าขั้นวิกฤติได้ หรือหลบหลีกจากอันตรายมาได้อย่างปลอดภัยไม่ได้รับผลอันใดจากสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่เป็นอะไรหรือได้รับผลกระทบมากมาย - รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
หมายถึง ความรู้จะสามารถช่วยให้เราสามารถรักษาตัวเองให้รอดได้และเป็นสิ่งมีค่าที่จะติดตัวเราไปทุกที่มากกว่าทรัพย์สินสิ่งของใดๆ - รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง
หมายถึง รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ - ลืมตาอ้าปาก
หมายถึง มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมจนพอทัดเทียมกับผู้อื่น - ลูกรักอยู่หลังลูกชังอยู่หน้า
หมายถึง รักลูกไม่เท่ากัน - ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
หมายถึง ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก - วันพระไม่ได้มีหนเดียว
หมายถึง วันหน้ายังมีโอกาสอีก - ศิษย์มีครู
หมายถึง คนเก่งที่มีครู - สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล
หมายถึง การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน - สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
หมายถึง การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คน ก็ไม่เท่ากับพบเห็นด้วยตนเอง - สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
หมายถึง คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ - สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
หมายถึง คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ - สุกเอาเผากิน
หมายถึง อาการที่ทำอย่างเร่งรีบไม่ใส่ใจ, อาการที่ทำลวก ๆ พอให้เสร็จ - สูงนักมักโค่น
หมายถึง โดดเด่นเกินไป มักมีภัยแก่ตนเอง - หนามยอกเอาหนามบ่ง
หมายถึง ตอบโต้ หรือแก้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน - หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม
หมายถึง คนที่มีพรสวรรค์ สติปัญญาดี มีความสามารถสูง อาจจะเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่มีผู้สอนเลยก็เป็นได้ หรือหมายถึงคนที่มาจากตระกูลที่ดี ตัวบุคคลนั้นก็จะมีแนวโน้มที่ดีไปด้วย - หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด
หมายถึง อย่าเข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ กิจกรรม หรือการกระทำของผู้อืน ซึ่งเขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว - หยิกเล็บเจ็บเนื้อ
หมายถึง ทำผู้ใกล้ชิดก็ย่อมส่งผลกระทบถึงตัวผู้ทำ หรือพรรคพวกด้วย - หย่อนนักมักยุ่ง
หมายถึง หากไม่เคร่งครัด ท้ายสุดก็มักจะเกิดปัญหาตามหลัง - หว่านพืชหวังผล
หมายถึง ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน - อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
หมายถึง อดใจไว้ตอนนี้เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้า - อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย
หมายถึง คนที่เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองอย่าหลงลืมตน ควรก้มมองดูลูกน้องหรือคนที่ต่ำต้อยกว่าว่าเขาเป็นอย่างไร เอาใจใส่ดูแล ฟังเสียงเขาบ้าง ส่วนคนที่เป็นลูกน้องก็สมควรทำหน้าที่ให้เรียบร้อยไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดูแบบอย่างจากเจ้านายเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง - อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนเมา
หมายถึง อย่าหาความจากคนที่ไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะไร้ซึ่งประโยชน์ในการเจรจา - อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนจะจนใจเอง
หมายถึง ไม่ควรไว้ใจใครมากเกินไปเพราะเขาอาจจะทำให้เราเดือดร้อนในภายหลังได้ - อายครูไม่รู้วิชา อายภรรยาไม่มีบุตร
หมายถึง อายในสิ่งที่ไม่ควรอาย อันทำให้ไม่เกิดประโยชน์ - เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
หมายถึง เก็บเล็กผสมน้อย, ทำอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา - เขียนด้วยมือลบด้วยตีน
หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง - เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า
หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง - เข้าทางตรอกออกทางประตู
หมายถึง ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ ชายหนุ่มกับหญิงสาวที่ต่างก็ผูกสมัครรักใคร่กัน ต่างก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เข้าตามตรอก ออกตามประตู ก็ว่า - เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง ประพฤติตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ, ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ คน และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ - เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
หมายถึง ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง - เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
หมายถึง ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย - เด็ดบัวเหลือใย
หมายถึง ตัดกันยังไม่ขาด ลึกๆ ยังรู้สึกดีต่อกัน ตัดบัวยังเหลือใย ก็ว่า - เด็ดบัวไม่ไว้ใย
หมายถึง ตัดขาด,ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด,มักใช้คู่กับเด็ดดอกไม่ไว้ขั้วเด็ดบัวไม่ไว้ใย - เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก
หมายถึง เพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่าย แต่เพื่อนที่คอยช่วยเหลือยามลำบากนั้นหายาก - เรียนผูกต้องเรียนแก้
หมายถึง รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, สร้างปัญหาเองก็ต้องรู้จักแก้เอง